ข่าวทั่วไป

ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะชนิดผสมอาหาร ให้สามารถออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพ

การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดการฟาร์ม เพื่อใช้ในการรักษาและควบคุมโรคในปศุสัตว์ สามารถเลือกใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น การฉีด(เข้ากล้ามเนื้อ,เข้าใต้ผิวหนัง,เข้าเส้นเลือด), การกิน(ละลายน้ำหรือผสมอาหาร) เป็นต้น วิธีหนึ่งที่นิยมมากในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ คือ การผสมยาปฏิชีวนะในอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก และง่ายในการจัดการ สำหรับยาปฏิชีวนะในรูปแบบผสมอาหารมีหลากหลายชนิด เช่น อะม็อกซิซิลลิน, ไทอะมูลิน, ทิลมิโคซิน, ด็อกซี่ซัยคลิน เป็นต้น การจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดบ้างผสมในอาหารแต่ละสูตรต้องพิจารณาตามโรคที่เกิดในแต่ละช่วงเวลา  และควรอยู่ภายใต้การควบคุมโดยสัตวแพทย์เพื่อการใช้ยาที่เหมาะสมและไม่มากเกินความจำเป็น หลังจากเลือกชนิดของยาปฏิชีวนะที่ต้องการได้แล้ว  สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณาเพื่อให้ยาปฏิชีวนะที่เลือกใช้ออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพที่ควรจะเป็น  ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆดังนี้ 1.แหล่งที่มาของเคมีภัณฑ์ที่นำมาใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์   โดยทั่วไปมักพิจารณาถึงประเทศหรือภูมิภาคที่ผลิตว่ามาจากแหล่งที่เชื่อถือได้  แต่ก็ไม่สามารถเหมารวมว่าเคมีภัณฑ์จากประเทศใดประเทศหนึ่งมีคุณภาพดีหรือไม่ดีเนื่องจากแต่ละประเทศหรือภูมิภาคมีผู้ผลิตหลายราย  ดังนั้นวิธีที่ดีทีสุดคือ “การใช้การรับรองคุณภาพจากหน่วยงานกลาง” ที่มีเกณฑ์การควบคุมคุณภาพของเคมีภัณฑ์ให้อยู่ในเกณฑ์การออกฤทธิ์ที่สูงกว่าเคมีภัณฑ์ทั่วไป เพื่อความมั่นใจว่าเคมีภัณฑ์นั้นๆมีคุณภาพดีจริง  หน่วยงานที่ให้การรับรองได้แก่ EDQM (European Directorate for the Quality of Medicines) ของยุโรป , [...]

การใช้ยาผสมอาหารเพื่อป้องกันและรักษาอาการท้องเสีย

ยาโคลิสตินเป็นยาที่นิยมใช้มากที่สุดในการป้องกันและรักษาอาการท้องเสีย เมื่อมีการควบคุมการใช้ยาโคลิสตินเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา  โดยกรมปศุสัตว์ได้ประกาศเป็นให้ยาโคลิสตินเป็น “ยาควบคุม” คือ ห้ามใช้ยาเพื่อการป้องกันโรค แต่ยังคงใช้ยาเพื่อการรักษาโรคได้โดยมีเงื่อนไขว่าสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มต้องใช้ยาตัวอื่นในการรักษาก่อน ถ้าไม่มียาตัวอื่นรักษาให้หายได้จึงค่อยพิจารณาใช้ยาโคลิสติน นอกจากนี้ยังมี “ยาห้ามใช้” ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พ.ศ. 2559    ห้ามใช้  ยา  เภสัชเคมีภัณฑ์  เกลือของเภสัชเคมีภัณฑ์  เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสําเร็จรูป และเคมีภัณฑ์  เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์  ดังนี้ 1.กลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ 2.กลุ่มไนโตรฟูแรนส์  3.กลุ่มไนโตรอิมิดาโซล 4.คลอแรมเฟนิคอล  5.อะโวพาร์ซิน  6.คาร์บาดอกซ์  7.  โอลาควินดอกซ์  8.ไดเอทิลสติลเบสโทรล  9.  เมลามีนหรือสารในกลุ่มเมลามีน  เช่น  กรดซัยยานูริก ,แอมมีไลด์ และมี “ยาที่ห้ามใช้นอกเหนือจากฉลากยา (Extra label use)” ซึ่งหมายถึง [...]