การใช้ยาผสมอาหารเพื่อป้องกันและรักษาอาการท้องเสีย

การใช้ยาผสมอาหารเพื่อป้องกันและรักษาอาการท้องเสีย

ยาโคลิสตินเป็นยาที่นิยมใช้มากที่สุดในการป้องกันและรักษาอาการท้องเสีย เมื่อมีการควบคุมการใช้ยาโคลิสตินเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา  โดยกรมปศุสัตว์ได้ประกาศเป็นให้ยาโคลิสตินเป็น “ยาควบคุม” คือ ห้ามใช้ยาเพื่อการป้องกันโรค แต่ยังคงใช้ยาเพื่อการรักษาโรคได้โดยมีเงื่อนไขว่าสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มต้องใช้ยาตัวอื่นในการรักษาก่อน ถ้าไม่มียาตัวอื่นรักษาให้หายได้จึงค่อยพิจารณาใช้ยาโคลิสติน

นอกจากนี้ยังมี “ยาห้ามใช้” ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พ.ศ. 2559    ห้ามใช้  ยา  เภสัชเคมีภัณฑ์  เกลือของเภสัชเคมีภัณฑ์  เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสําเร็จรูป และเคมีภัณฑ์  เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์  ดังนี้ 1.กลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ 2.กลุ่มไนโตรฟูแรนส์  3.กลุ่มไนโตรอิมิดาโซล 4.คลอแรมเฟนิคอล  5.อะโวพาร์ซิน  6.คาร์บาดอกซ์  7.  โอลาควินดอกซ์  8.ไดเอทิลสติลเบสโทรล  9.  เมลามีนหรือสารในกลุ่มเมลามีน  เช่น  กรดซัยยานูริก ,แอมมีไลด์

และมี “ยาที่ห้ามใช้นอกเหนือจากฉลากยา (Extra label use)” ซึ่งหมายถึง กลุ่มยาที่สามารถใช้ได้ตามข้อบ่งใช้ที่ระบุในฉลากของตำรับยาที่มีทะเบียนแล้วเท่านั้น และห้ามใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งไว้ในฉลาก ได้แก่ นำยาสำหรับมนุษย์มาใช้ในสัตว์, นำยาไปใช้ในสัตว์ต่างชนิดนอกเหนือจากที่ระบุในทะเบียนตำรับยา, ใช้ยาในขนาด และปริมาณที่แตกต่างจากที่กำหนดในฉลาก   กลุ่มยาดังกล่าว ได้แก่
1. กลุ่ม Fluoroquinolones ได้แก่ Danofloxacin, Marbofloxacin เป็นต้น
2. กลุ่ม Sulfonamides ทุกชนิด

ดังนั้นในการเลือกยาทดแทนโคลิสตินจึงต้องพิจารณาถึงข้อห้ามต่างๆประกอบด้วยเพื่อไม่ให้เกิดการใช้ยาผิดตามข้อกำหนด   และยาที่จะนำมาใช้ทดแทนโคลิสตินในการควบคุมอาการท้องเสีย  ควรเป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้ดีในทางเดินอาหารเช่นเดียวกับโคลิสติน โดยยาควรมีการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณน้อยหรือไม่ดูดซึมเพื่อให้ตัวยาคงเหลืออยู่ในทางเดินอาหารในปริมาณมาก และออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อในทางเดินอาหารเป็นหลัก

จากข้อมูลเบื้องต้น(ตารางที่1) ยาที่มีการดูดซึมเข้ากระแสเลือดน้อยและคงอยู่ในลำไส้ได้ดี ได้แก่ นีโอมัยซิน และฟอสโฟมัยซิน  ส่วนซัลฟาไดอะซีนมีการดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ดีเหมาะกับการรักษาโรคติดเชื้อภายในร่างกายมากกว่าการติดเชื้อในทางเดินอาหาร    สำหรับฮาควินอลไม่มีข้อมูลการดูดซึมเข้ากระแสเลือด ยาฮาควินอลเป็นยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย,เชื้อรา,โปรโตซัวแต่กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ชัดเจน และช่วยลดการบีบตัวและเคลื่อนตัวของลำไส้แบบไม่จำเพาะ  ปกตินิยมใช้เป็นกลุ่มเร่งการเจริญเติบโต (Growth promoter)     หากใช้ฮาควินอลเพื่อรักษาการท้องเสีย ควรใช้ ฮาควินอล ร่วมกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่น เช่น โคลิสติน, นีโอมัยซิน, ฟอสโฟมัยซิน เป็นต้น  เพื่อการออกฤทธิ์ในการรักษาที่ดีขึ้น

ตารางที่ 1  เปรียบเทียบคุณภาพยาผสมอาหาร และต้นทุนการใช้ต่อตันอาหาร


หมายเหตุ                –  เท่ากับไม่มีข้อมูล

*คิดโดยใช้สูตร   นน.สัตว์ (กก.) x ขนาดการใช้ Fosbac (160 มก.)    =   กรัมของ Fosbac ต่อตันอาหาร

ปริมาณอาหารที่กินต่อตัวต่อวัน (กก.)

**ขนาดการใช้ยาเพื่อควบคุมโรคท้องเสีย โดยใช้ ฮาควินอล ร่วมกับ ยาฏิชีวนะกลุ่มอื่นจะได้ผลดีขึ้น

นอกจากยาปฏิชีวนะที่กล่าวไว้ทั้งหมด ยังมีสารกลุ่มซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) ที่มีฤทธิ์ในการควบคุมโรคท้องเสียได้  โดยมักนำมาใช้ผสมอาหารร่วมกับยาปฏิชีวนะ

Share this post